วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2551

โครงงานตู้ปลาพลังงานแสงอาทิตย์

โครงงาน
เรื่อง
ตู้ปลาพลังงานแสงอาทิตย์
เสนอ
คุณครู อำนาจ พรหมใจรักษ์



วัตถุประสงค์
เพื่อรณรงค์และสร้างจิตสำนึกในการใช้พลังงานสำหรับนักเรียนในสถานศึกษาและชุมชน

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
จากการศึกษาโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ โดยการนำเอาวัสดุที่ไม่ได้ใช้งานแล้วนำมาประยุกต์ใช้โดยการทำตู้ปลาจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการนำเอาแผงโซล่าเซลล์ที่รับพลังงานจากแสงอาทิตย์มาเชื่อมต่อแผงโซล่าเซลล์ ติดตั้งพัดลมและเครื่องปั๊มออกซิเจน นอกจากนี้ยังช่วยลดพลังงานไฟฟ้าและช่วยลดภาวะโลกร้อนจากสถานศึกษาและชุมชน

ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลวิธีแก้ไข
จากการศึกษาโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ โดยการนำเอาเศษวัสดุที่เหลือใช้ในสังคมและชุมชนมีมากมายทางกลุ่มได้เห็นความสำคัญจึงนำเอาแผงโซล่าเซลล์มาเป็นส่วนประกอบในการใช้ทำงานเพราะช่วยในการประหยัดพลังงานและลดภาวะโลกร้อน

แหล่งข้อมูล ดังนี้
2.1 ตู้ปลาจากพลังงานแสงอาทิตย์
2.2 การปลูกพืชไร้ดินแบบไฮโดรนิกส์ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
2.3 เครื่องสูบน้ำและให้น้ำโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์


ขั้นที่ 3 เลือกวิธีแก้ไขปัญหา

3.1 ชื่อโครงงาน ตู้ปลาจากพลังงานแสงอาทิตย์
ข้อดี
ข้อเสีย
ประหยัดพลังงาน
รูปแบบในการใช้งานหลากหลาย
มีความคิดริเริ่ม
วิธีในการทำงานสะดวก
เก็บสะสมพลังงานได้ดี
ต้องใช้ความประณีต
ต้นทุนในการทำงานสูง
ส่วนประกอบในการทำงานมาก

3.2 ชื่อโครงงาน การปลูกพืชไร้ดินแบบไฮโดรนิกส์ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
ข้อดี
ข้อเสีย
ประหยัดพลังงาน
เก็บสะสมพลังงานแสงอาทิตย์ได้ดี
หาอุปกรณ์ในการทำงานง่าย
ใช้พลังงานในการทำงานมากเกินไป
ต้นทุนในการทำงานสูง
มีความประณีตในการทำงาน
ส่วนประกอบในการทำงานมาก

3.3 ชื่อโครงงาน เครื่องสูบน้ำและให้น้ำโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์
ข้อดี
ข้อเสีย
- ประหยัดพลังงาน
- ช่วยในการทำอาชีพเกษตรกรมาก
- เก็บกักน้ำได้มาก
- ใช้น้ำได้อย่างประหยัดกว่าเดิม
- ใช้พลังงานในการทำงานมากเกินไป
- ต้นทุนในการทำงานสูง
- มีความประณีตในการทำงาน
- รายละเอียดของชิ้นงานมากเกินไป
- วัสดุอุปกรณ์ในการทำงานมาก


ผลจากการวิเคราะห์
จากการคัดเลือกโครงงานทั้ง 3 ชิ้นแล้ว สามารถสรุปได้ว่า ตู้ปลาจากพลังงานแสงอาทิตย์มีข้อดีในการทำงานมากกว่าข้อเสีย เพราะมีประโยชน์ในการใช้งานเหมาะสมที่สุดกับการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งเป็นการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย โดยหันมาใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ทดแทน


ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
4.1 ออกแบบตามข้อมูลที่กำหนดไว้ลงในโปรแกรม prodesktop ให้มีขนาดเหมาะสมตามความต้องการ
4.2 ออกแบบส่วนต่างๆของตู้ปลาและส่วนประกอบของชิ้นงานให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ
4.3 เมื่อได้ส่วนประกอบต่างๆของตู้ปลาครบแล้วให้นำส่วนต่างๆของตู้ปลามาประกอบกันให้เสร็จสมบรูณ์ตามรูปแบบที่วางแผนไว้


ขั้นตอนที่ 5 ทดสอบ
นำตู้ปลาจากพลังงานแสงอาทิตย์ไปวางไว้หน้าบ้านหรือที่ที่มีแสงอาทิตย์ส่องมา และติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ไว้ข้างบ้านเพื่อรับแสงแดดของพลังงานแสงอาทิตย์เมื่อพลังงานแสงอาทิตย์ตกกระทบกับแผงโซล่าเซลล์แล้วจะมีการเก็บกักพลังงานแสงอาทิตย์ไว้เพื่อเป็นพลังงานไฟฟ้า จากนั้นทดลองโดยการเปิดสวิทช์ทั้ง 2 หรือสวิทช์ใดสวิทช์หนึ่ง ผลปรากฏว่า กังหันใต้น้ำและเครื่องปั๊มออกซิเจนไม่ทำงาน ( โดยไม่มีการใช้ไฟฟ้าจากบ้าน )
ขั้นที่ 6 ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข
นำมอเตอร์มาเปลี่ยนใหม่ติดตั้งที่ฐานของตู้ปลาและติดตั้งเครื่องปั๊มออกซิเจน เปลี่ยนสวิทช์ที่ต่อจากแผงโซล่าเซลล์ที่เชื่อมต่อกับพัดลมและเครื่องปั๊มออกซิเจน สามารถทำงานได้เป็นปกติ







ขั้นที่ 7 ประเมินผล
หลังจากการปรับปรุงแก้ไขงานแล้วการทำงานของตู้ปลาก็ทำงานได้อย่างปกติ และเสร็จสมบรูณ์ตามรูปแบบที่ได้ตามมาตรฐานและสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลดค่าใช้จ่ายค่าใช้จ่ายของบ้านอีกด้วย


ขอขอบคุณ คุณครู อำนาจ พรหมใจรักษ์ ที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโครงงาน
เรื่อง ตู้ปลาจากพลังงานแสงอาทิตย์ทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีขอขอบคุณค่ะ



สมาชิกในกลุ่ม

1. นายธีระพงษ์ วงษ์โคกสูง ชั้น ม. 5/1 เลขที่ 2
2. นางสาวพัชราภรณ์ หล้าสุด ชั้น ม. 5/1 เลขที่ 28
3. นางสาววราภรณ์ วงศ์ขันธ์ ชั้น ม. 5/1 เลขที่ 30
4. นางสาวสกีดาว ถิ่นหนองตูม ชั้น ม. 5/1 เลขที่ 32
5. นางสาวสุภาวดี พิมหานาม ชั้น ม. 5/1 เลขที่ 33
6. นางสาวอาทิตตยา กองไตร ชั้น ม. 5/1 เลขที่ 37






ชื่อบล็อก http://Ploywongkhan.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น: